กระทือ





            เป็น สมุนไพรไทย ตระกูลเดียวกันกับพวกขิงและข่า โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากอินเดีย และได้รับการแพร่กระจายมายังทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย สรรพคุณของกระทือ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม กระทือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ingiber zerumbet Smith. ชื่ออื่นๆ ของกระทือ เช่น หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน เฮียงแดง ชื่อเรียกของกระทือจะแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น

ลักษณะของต้นกระทือ
  • ต้นกระทือ นั้นเป็น พรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน สีขาวอมเหลือง ใบเรียวยาว สีเขียวแก่ ดอกเป็นช่อ ช่อก้านดอกยาว ปลายดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดง การขยายพันธุ์ของกระทือ ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ  กระทือเป็นพืชที่ชอบดินร่วน
  • ใบกระทือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอกกระทือ ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา (รูปแรกด้านบนสุด) ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกสีขาวนวลออกเหลือง (รูปที่ 1 ด้านล่าง) มีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันหนาแน่นและเป็นระเบียบ (รูปที่ 2 ด้านล่าง) โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน
  • ผลกระทือ ผลมีลักษณะเป็นเมล็ดสีดำ ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตก ติดอยู่ในประดับ และมีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ดอยู่
การปลูกกระทือ
ต้นกระทือ ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ การปลูกกระทือนั้นนิยมขุดเหง้าจากเหง้าแม่ แล้วนำปลูกลงแปลง ซึ่งดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกระทือ ควรเป็น ดินเหนียวปนทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ควรปลูกใกล้กับบริเวณที่มีความชื้นตลอด เช่น ข้างบริเวณล้างจาน หรือ หลังห้องน้ำ เป็นต้น
ต้นกระทือ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่เหนือดินสูงราว 0.9-1.5 เมตร และมีเหง้าอยู่ใต้ดินเรียกว่า “เหง้ากระทือ” หรือ “หัวกระทือ” เปลือกนอกของเหง้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม มีรสขม ขื่น ปร่า และเผ็ดเล็กน้อย ต้นจะโทรมในหน้าแล้งแล้วจะงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือที่เรียกว่าหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และมีแสงแดดส่องตลอดวัน พบขึ้นมากทางภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า



เครดิตข้อมูล https://beezab.com/

ครดิตคลิปวีดีโอ herbandhealth เผยแพร่เมื่อ 16 ส.ค. 2011

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น